November 11, 2022

รู้จักไว้ก่อนคิดสร้างแบรนด์ OEM ODM OBM คนทำธุรกิจควรต้องรู้!

OEM คืออะไร? ODM คืออะไร? OBM คืออะไร? สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่คนทำธุรกิจผลิตสินค้า สร้างแบรนด์เป็นของตัวเองควรต้องรู้! เชื่อว่าหลายคนที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ ก็อาจจะเคยได้ยินคำว่า OEM, ODM และ OBM กันมาบ้าง เพียงแค่ไม่รู้ความหมายแต่ละคำศัพท์ว่าคืออะไร แล้วมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งก่อนอื่นต้องบอกว่าคำศัพท์เหล่านี้ล้วนเป็นคำศัพท์ใช้ในการเรียกโรงงานผลิตสินค้าที่เปิดให้บริการแต่ละประเภทนั่นเอง ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกโรงงานให้เหมาะกับสินค้าหรือธุรกิจของเรา วันนี้เราก็เลยอาสาพาคุณมาทำความรู้จัก OEM ODM OBM คืออะไร แล้ว OEM ข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง เพื่อให้คุณเลือกโรงงานผลิตได้อย่างเหมาะสมกับธุรกิจของคุณ ไม่รอช้า…ติดตามอ่านไปพร้อมกันได้เลย

OEM คืออะไร และ OEM ย่อมาจากอะไร

OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturing ซึ่ง OEM คือ การรับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัท โดยที่ไม่มีตราหรือแบรนด์สินค้า เพื่อให้บริษัทนำสินค้าไปขายในแบรนด์ของตัวเอง โดยโรงงานประเภทนี้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามที่ผู้สั่งกำหนด แล้วนำไปติดแบรนด์ของผู้สั่ง หรือไม่ติดแบรนด์เลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สั่งผลิตสินค้า

โดยกระบวนการผลิตโรงงานประเภท OEM นี้ ก็เริ่มตั้งแต่การคิด วิจัยสูตร วางแผน ออกแบบ ใช้เครื่องจักรในการผลิต ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของแบรนด์ประหยัดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการวางแผนจัดการโรงงานผลิต โดยไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงในการลงทุนผลิต และยังได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าอีกด้วย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเริ่มต้นที่จะทำธุรกิจ

ทั้งนี้ โรงงานรับผลิตแบบ OEM โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโรงงานเปิดใหม่ หรือโรงงานที่ไม่เน้นสร้างแบรนด์ของตัวเองมากนัก แต่เป็นการเน้นผลิตสินค้าให้กับแบรนด์อื่น ๆ ที่ต้องการผลิตสินค้าจำนวนน้อย หรือธุรกิจที่ยังไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง

สรุป ข้อดี ข้อเสีย ของโรงงานประเภท OEM

เพื่อให้มองภาพอย่างชัดเจน เราจึงสรุป OEM ข้อดี ข้อเสีย มาให้ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อประกอบการตัดสินใจธุรกิจของเราเหมาะกับโรงงาน OEM ในไทยหรือไม่ ดังนี้

ข้อดีของโรงงาน

  • OEM ต้นทุนในการผลิตสินค้าต่ำ
  • จึงช่วยลดต้นทุนในการผลิตสินค้า
  • ไม่ต้องลงทุนวิจัยและพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์
  • สามารถเพิ่มไลน์การผลิตสินค้าได้ตามที่ต้องการ
  • ไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการดูแลกระบวนการผลิต
  • มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแลและให้คำปรึกษาตลอดการผลิตสินค้า
  • สามารถย้ายฐานการผลิตไปยังโรงงานอื่น หรือย้ายไปผลิตที่ประเทศที่มีต้นทุนต่ำได้ตลอด
  • เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ทำให้ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ

ข้อเสียของโรงงาน OEM

  • มีต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูงกว่าการ เมื่อเทียบกับมีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง
  • กรณีใช้สูตรกลางในการผลิตสินค้า อาจจะทำให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพไม่แตกต่างจากแบรนด์อื่น
  • ถ้าสินค้าไม่มีความแตกต่างหรือโดดเด่นมากพอ อาจทำให้สร้างยอดขายได้ไม่มาก เพราะใครก็สามารถทำสินค้าเป็นของตัวเองได้

ตัวอย่างสินค้า OEM มีอะไรบ้าง

ถ้าใครที่ยังนึกไม่ออกว่าสินค้า OEM คืออะไร แล้วแบรนด์ OEM มีอะไรบ้าง วันนี้เราจึงยกตัวอย่างธุรกิจ OEM มาให้ดูกัน ดังนี้

  • โรงงานผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งสินค้า OEM คือ เวชสำอาง ครีม เซรั่ม สกินแคร์ โลชั่น เป็นต้น
  • โรงงานผลิตอาหารเสริม เช่น คอลลาเจน อาหารเสริมผงชมดื่ม อาหารเสริมลดน้ำหนัก เป็นต้น
  • โรงงานรับผลิตอาหาร เช่น น้ำพริก พริกกรอบ ผักกรอบ ฟองเต้าหู้กรอบ ขนมต่าง ๆ เป็นต้น

ODM คืออะไร และ ODM ย่อมาจากอะไร

ODM ย่อมาจาก Original Design Manufactuere ซึ่ง ODM คือ การรับจ้างออกแบบและผลิตสินค้าให้บริษัท เพื่อนำไปขายในแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งลักษณะโรงงานประเภท ODM ก็จะมีความคล้ายคลึงกับโรงงานประเภท OEM เลย เพียงแต่ว่า ODM สามารถพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำการผลิต และนำเสนอให้กับลูกค้าที่มีแบรนด์อยู่แล้ว หรือช่วยกันออกแบบ ปรึกษาหารือกัน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ออกมาดีที่สุด โดยลูกค้ามีหน้าที่ในการวางจำหน่ายและกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดเอง จึงทำให้การผลิตในรูปแบบ ODM นั้นมีผลิตภัณฑ์ที่ออกมาพิเศษกว่าแบบ OEM แน่นอนว่าราคาค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการสร้างแบรนด์ใหม่ ๆ

สรุป ข้อดี ข้อเสีย ของโรงงานประเภท ODM

คราวนี้ลองมาดูว่าโรงงานประเภท ODM ข้อดี ข้อเสีย อะไรบ้าง แล้วเหมาะกับธุรกิจของเราหรือไม่ มาดูกัน

ข้อดีของโรงงาน ODM

  • เหมาะกับผู้เริ่มต้นทำแบรนด์ใหม่
  • ไม่ต้องคิดค้น พัฒนา หรือออกแบบสินค้าเอง
  • เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นจะต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง
  • ไม่ต้องแบกรับภาระหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า
  • สินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างกับสินค้าในตลาด จึงสร้างจุดเด่นได้ง่าย
  • กรณีเลือกการออกแบบที่เป็น Exclusive คุณก็จะได้แบรนด์สินค้าที่ไม่ซ้ำใคร
  • ช่วยลดต้นทุนในการผลิต สามารถย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด
  • มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางในการผลิต และการออกแบบ ที่คอยให้การดูแลอย่างใกล้ชิด

ข้อเสียของโรงงาน ODM

  • ต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูงกว่าการผลิตเอง หรือเทียบกับโรงงานประเภทอื่น ๆ

ตัวอย่างสินค้า ODM มีอะไรบ้าง

สำหรับใครยังไม่แน่ใจว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของเรานั้น เหมาะสำหรับโรงงานประเภท ODM หรือไม่ งั้นลองดูตัวอย่างสินค้า ODM กันก่อนว่ามีอะไรบ้าง

  • โรงงานสิ่งทอ เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เป็นต้น
  • โรงงานผลิตปุ๋ยไอออนิค ผู้รับผลิตปุ๋ยตามสูตรที่ต้องการ แล้วนำเสนอขายให้กับลูกค้าเพื่อสร้างแบรนด์ของตัวเองได้

OBM คืออะไร และ OBM ย่อมาจากอะไร

OBM ย่อมาจาก Original Brand Manufacturing ซึ่ง OBM คือ การผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของผู้ผลิต หรือเรียกง่าย ๆ ว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นมีโรงงานผลิตที่เป็นของตัวเอง โดยโรงงานประเภท OBM ก็จะเริ่มตั้งแต่ดำเนินการศึกษา วิจัย พัฒนาสินค้าตั้งแต่กระบวนแรก ไปจนถึงขั้นตอนการผลิตสินค้า และรับผิดชอบด้านการจัดจำหน่ายสินค้าของแบรนด์ตัวเองเข้าสู่ตลาดอีกด้วย

ซึ่งโรงงานประเภทนี้เหมาะสำหรับแบรนด์ที่มีความมั่นคงแข็งแรง และต้องการเติบโตอย่างเต็มที่ และมีชื่อเสียงที่สามารถทำการตลาดภายใต้แบรนด์ได้อย่างต่อเนื่อง เพราะหากแบรนด์มีความแข็งแรงมากพอ และต้องการที่จะผลิตสินค้าจำนวนมากการสร้างโรงงานผลิตเองน่าจะตอบโจทย์ธุรกิจได้ดี เนื่องจากช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้ ทั้งนี้ ต้นทุนการผลิตสินค้าประเภท ก็อาจจะไม่เท่ากันในแต่ละล็อตการผลิต แต่เจ้าของแบรนด์ก็ยังสามารถควบคุมราคาและคุณภาพสินค้าได้อย่างอิสระ

สรุป ข้อดี ข้อเสีย ของโรงงานประเภท OBM

คราวนี้ลองมาดู ข้อดีและข้อเสีย ของโรงงานประเภท OBM กันบ้าง เพื่อจะได้ลองพิจารณาว่าธุรกิจของถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะสร้างโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง มาดูกัน

ข้อดีของโรงงาน OBM

  • เจ้าของแบรนด์สามารถลดต้นทุนในการผลิตไปได้มาก
  • มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง ทำให้สามารถกำหนดจำนวนการผลิตสินค้าได้ตามที่ต้องการ

ข้อเสียของโรงงาน OBM

  • ต้นทุนการสร้างโรงงงานการผลิตสินค้าค่อนข้างสูง
  • ไม่มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาคอยแนะนำในการผลิตสินค้า
  • เจ้าของแบรนด์สามารถผลิตและออกแบบสินค้าเองได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ

ตัวอย่างสินค้า OBM มีอะไรบ้าง

เมื่อรู้แล้วว่า OBM คืออะไร และแสดงตัวอย่างสินค้าให้ดูว่าสินค้าประเภทไหนบ้าง ที่นิยมสร้างโรงงานเอง ดังนี้

  • สินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศ เป็นต้น

สรุปภาพรวมสินค้า OEM ODM และ OBM แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

เมื่อพอรู้กันแล้วว่า OEM ODM OBM คืออะไร คราวนี้ลองดูกันสิว่าโรงงานทั้ง 3 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เราได้สรุปแบบสั้น ๆ ให้เข้าใจง่าย ดังนี้

สินค้า OEM

  • ประเภท : รับจ้างผลิตสินค้า
  • การพัฒนาและออกแบบสินค้า : เจ้าของแบรนด์
  • การตรวจสอบคุณภาพสินค้า : ไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ทุกขั้นตอน
  • ต้นทุนสินค้า : ไม่สูงมากถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง
  • ทุนจัดตั้งโรงงาน : ไม่ต้องลงทุนจัดตั้งโรงงานและจ้างแรงงานด้วยตนเอง

สินค้า ODM

  • ประเภท : รับจ้างผลิตและออกแบบสินค้า
  • การพัฒนาและออกแบบสินค้า : โรงงาน , โรงงานและเจ้าของแบรนด์
  • การตรวจสอบคุณภาพสินค้า : ไม่สามารถตรวจสอบขั้นตอนการผลิตได้อย่างละเอียด
  • ต้นทุนสินค้า : ค่อนข้างสูง ยิ่งถ้าเป็นสินค้าผูกขาดแบรนด์
  • ทุนจัดตั้งโรงงาน : ไม่ต้องลงทุนจัดตั้งแรงงานและจ้างแรงงานด้วยตนเอง

สินค้า OBM

  • ประเภท : สินค้าของโรงงานบริษัทนั้น ๆ ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์เอง
  • การพัฒนาและออกแบบสินค้า : เจ้าของแบรนด์พัฒนาและออกแบบด้วยตนเอง
  • การตรวจสอบคุณภาพสินค้า : สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ทุกขั้นตอน
  • ต้นทุนสินค้า : ต้นทุนต่ำ สามารถควบคุมราคาต้นทุนเองได้
  • ทุนจัดตั้งโรงงาน : ทุนในการจัดตั้งแรงงานและจ้างแรงงานสูง

วิธีเลือกโรงงานประเภท OEM อย่างไรให้ดีที่สุด

ใครอยากสร้างแบรนด์สินค้าของตัวเอง กำลังมองหาโรงงาน OEM ในไทย เพื่อผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บ้างล่ะก็ วันนี้เรามีเคล็ดลับวิธีการเลือกโรงงานที่จะมาทำ OEM ในไทยให้กับทุกคน

  1. ควรเลือกโรงงานที่มีการคิดค้นและพัฒนาสูตร
    • ยิ่งถ้าคุณเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ แนะนำให้หาโรงงาน OEM ในไทยที่สามารถช่วยคิดค้นพัฒนาสูตรสินค้าให้กับเราได้ เพื่อจะได้สร้างจุดเด่นและความแตกต่างให้แบรนด์ไม่เหมือนกับแบรนด์อื่น ๆ
  2. เลือกโรงงานที่ใช้ส่วนผสมได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
    • สิ่งสำคัญการทำธุรกิจ OEM คือ สินค้าดีมีคุณภาพแน่นอนถ้าต้องการสินค้าที่ดีมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน จึงจำเป็นต้องเลือกโรงงานที่มีการใช้ส่วนผสมในการผลิตที่ได้มาตรฐาน ผ่านการทดสอบมาแล้ว และที่สำคัญตัวโรงงานก็จะต้องได้รับมาตรฐานด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นสินค้าประเภทเครื่องสำอาง หรืออาหารเสริม ยิ่งต้องเลือกโรงงานที่มีใบรับรองคุณภาพและมาตรฐาน
  3. ควรเลือกโรงงานที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาตลอดการผลิตสินค้า
    • สำหรับคนเพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ ยังจำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่จะต้องคอยให้คำปรึกษา ดังนั้น โรงงาน OEM ในไทยหลายแห่งจึงมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้ปรึกษา หากคุณเลือก OEM ในไทยที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญ สินค้าที่ผลิตออกก็อาจจะไม่มีคุณภาพและไม่ได้มาตรฐาน
  4. ควรเลือกโรงงานที่ให้บริการครบวงจร หรือ One stop service
    • การทำธุรกิจบางครั้งจำเป็นจะต้องมีผู้ช่วย ยิ่งถ้าบริษัทของคุณไม่มีโรงงานผลิตสินค้าเอง แนะนำให้เลือก OEM ในไทยที่พร้อมให้บริการครบวงจร หรือเรียกว่า One stop service เพราะจะช่วยให้ทำธุรกิจได้ง่าย และสบายมากยิ่งขึ้น ยิ่งถ้าได้โรงงานที่สามารถดูแลตั้งแต่เริ่มต้นการคิดค้น วิจัย คิดค้นสูตร ไปจนถึงการให้คำแนะนำการผลิตสินค้าไปจนถึงการจำหน่ายอย่างครบวงจรทุกขั้นตอนก็จะยิ่งดีมาก ๆ

หลังจากได้อ่านบทความนี้แล้ว ทุกคนน่าจะพอรู้แล้วว่า OEM ODM OBM คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโรงงานแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียที่ไม่เหมือนกัน สำหรับใครอยากลองทำธุรกิจสร้างแบรนด์ของตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าจะผลิตสินค้าอะไรมาขายดี แนะนำให้เลือกเป็นสินค้าใกล้ตัว ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ เป็นต้น คุณสามารถติดต่อสอบถามหรือขอคำปรึกษาได้ที่ อาร์ แอนด์ ดี อินเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง ซึ่งเป็นโรงงาน OEM ในไทยที่รับผลิตเครื่องสำอางครบวงจร พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service ได้คัดสรรส่วนผสมที่ดีที่สุดจากแหล่งวัตถุดิบทั่วทุกมุมโลก เพื่อนำมาผลิตสินค้า และควบคุมการผลิต โดยทีมงานเภสัชกร ภายใต้มาตรฐานระดับโลก

สามารถทดลองประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ได้แล้ววันนี้ ที่โรงงานผลิตเครื่องสำอาง R&D Inter

โทร 034-440-258

บทความที่เกี่ยวข้อง

สาระน่ารู้สำหรับเจ้าของแบรนด์

30 แคปชั่นขายครีมโดนๆ ไว้โพสต์ขายของปี 2023

ในยุคที่การตลาดออนไลน์กลายเป็นตลาดสุดร้อนแรงทั้งในเรื่องปริมาณผู้บริโภคที่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่องและการแข่งขันของผู้ขายอย่างดุเดือดเนื่องจากมีจำนวนร้านค้าอออนไลน์เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดด้วยขอบเขตรายได้ที่ค่อนข้างสูงหาสามารถเข้ามาตีตลาดได้สำเร็จโดยเฉพาะธุรกิจเครื่องสำอางซึ่งวันนี้จะนำเสนอในมุมมองของการขายครีมว่าขายครีมยังไงให้ปัง พร้อมแคปชั่นขายครีมแบบสับ ๆ มัดใจลูกค้าให้สั่งซื้อกันจุก ๆ แคปชั่น (Caption) เป็นคำบรรยายสั้น ๆ ที่ใช้สื่อสารถึงสิ่งนั้น ๆ ซึ่งในแง่ของการขายสินค้าแคปชั่นคงไม่ต่างจากการแนะนำสินค้า โฆษณาสิ่งของควบคู่ไปกับภาพสินค้าสวย ๆ เพื่อเรียกความสนใจจากลูกค้าให้เขาหยุดอ่านดูเพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้า 30 แคปชั่นขายครีมโดนๆ เป็นแม่ค้า พ่อค้าออนไลน์ในยุคนี้ จะคิดแคปชั่นโพสต์แต่ละทีก็กินเวลาไปหลายนาทีเพราะกลัวซ้ำ ไม่ถูกใจลูกค้า หรือจะไม่มีใครมากดไลค์ซึ่งเราได้รวบรวม 30 แคปชั่นขายครีมโดนๆ มาฝาก

สาระน่ารู้สำหรับเจ้าของแบรนด์

อยากทําแบรนด์ของตัวเองต้องเริ่มยังไงให้ปัง กำไรเยอะ

อาชีพที่หลายคนอาจใฝ่ฝันคือการก้าวสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจ (Owner Business) ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ทำได้หากอยากลงมือทำซึ่งในวันนี้เอาใจคนที่มีฝันอยากสร้างแบรนด์ตัวเองผ่านการเผยสูตรเคล็ดลับการเริ่มต้นสร้างธุรกิจ ว่ามีกลยุทธ์ใดบ้างที่ต้องรู้และต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรซึ่งอย่ารอช้า! ไปเริ่มกันเลย 9 กลยุทธ์เริ่มต้นสร้างแบรนด์สู่ความสำเร็จ เผย 9 กลยุทธ์สู่ความสำเร็จซึ่งจะมีปัจจัยใดบ้างที่น่าสนใจเพื่อเอาใจมือใหม่ที่กำลังเริ่มต้นสร้างของตัวเอง ก่อนจะเริ่มทำแบรนด์ก็ต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมายกันก่อนว่าสินค้าที่เราจะทำออกมาสู่ตลาดเหมาะกับคนกลุ่มไหน หรือมองเห็นโอกาสจากคนกลุ่มไหนซึ่งก็จะต้องมาศึกษาหาข้อมูล Insight กันเพิ่มเติมเพื่อตีกลุ่มเป้าหมายให้แตก เมื่อรู้กลุ่มเป้าหมาย ได้สินค้าที่ต้องการผลิตออกมาจำหน่ายแล้วก็ต้องออกไปสำรวจตลาดว่ามีแนวโน้มธุรกิจเป็นอย่างไร พอจะเป็นไปได้ไหม จำนวนคนขายสินค้าประเภทนี้มีมากน้อยเพียงใด หากผลิตสินค้าออกมาจะสามารถตีตลาดได้ไหม จุดแข็งจุดอ่อนของคู่แข่งทางธุรกิจมีอะไรบ้างโดยนำไปเปรียบเทียบและทำการวิเคราะห์เพื่อนำไปวางกลยุทธ์ต่อไป เมื่อเราเริ่มเข้าใจตลาดเบื้องต้นแล้วและมองเห็นว่าธุรกิจไปได้ ลำดับต่อไปก็ลองมาร่างแผนธุรกิจ (Business

สาระน่ารู้สำหรับเจ้าของแบรนด์

เปิด 5 เว็บไซต์ออกแบบโลโก้สุดปังทั้งแบบฟรี และมีค่าใช้จ่ายในปั 2023

การสร้างแบรนด์ นอกจากลงเงินแล้วยังต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กลายเป็นที่จดจำด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ ใส่ใจทุกความต้องการของลูกค้าซึ่ง ”โลโก้” ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของแบรนด์เพราะแสดงออกถึงการตัวตนของแบรนด์นั้น ๆ ที่สามารถออกแบบโลโก้ ออนไลน์ ฟรีได้ง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์เอาใจผู้ที่เริ่มต้นอยากทำแบรนด์เป็นของตัวเองได้ง่าย ๆ โลโก้ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อแบรนด์ เริ่มต้นกันที่คำนิยามของโลโก้ (Logo) ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงตัวตนของแบรนด์นั้น ๆ หรือเปรียบเทียบเป็นภาพจำ หากเห็นโลโก้แบรนด์นี้สื่อถึงอะไร โลโก้จึงเปรียบเสมือนผู้ที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารความเป็นแบรนด์ออกไป พร้อมการบอกเล่าเรื่องราว สร้างความเชื่อมั่นและการจดจำไปตามกาลเวลา